เมนู

อรรถกถาสุจิสูตร


ในสุจิสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โสเจยิยานิ ได้แก่ความสะอาด. บทว่า กายโยเจยฺยํ ได้
แก่ กายสุจริต. แม้วจีโสเจยยะ และ มโนโสเจยยะ ก็ได้แก่วจีสุจริตและ
มโนสุจริตนั่นเอง. สมจริงดังคำที่ตรัสไว้มีอาทิว่า บรรดาโสเจยยะ 3 อย่าง
นั้น กายโสเจยยะ คืออะไร ? คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต.
พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาดังต่อไปนี้ ชื่อว่าความสะอาดทางกาย
เพราะละกายทุจริตทุกอย่างได้แล้ว ด้วยสามารถแห่งการตัดขาด เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า กายสุจิ. บทว่า โสเจยฺยสมฺปนฺนํ ความว่า เข้าถึงแล้วด้วย
โสเจยยสมบัติที่บริสุทธิดีแล้ว เพราะระงับกิเลสได้แล้ว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสุจิสูตรที่ 7

8. มุนีสูตร


ว่าด้วยผู้รู้ 3 อย่าง


[245] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ-
สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพ-
เจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ 3 อย่างนี้ 3 อย่าง
เป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้รู้ทางกาย 1 ความเป็นผู้รู้ทางวาจา 1 ความเป็น
ผู้รู้ทางใจ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ 3 อย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า
เป็นต้น ได้กล่าวบุคคลผู้รู้ทางกาย ผู้รู้
ทางวาจา ผู้รู้ทางใจ ผู้หาอาสวะมิได้ว่า
เป็นมุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนี มี
บาปอันล้างแล้ว.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพ-
เจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบมุนีสูตรที่ 8

อรรถกถามุนีสูตร


ในมุนีสูตรที่ 8 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า โมเนยฺยานิ นี้ บุคคลชื่อว่า มุนิ เพราะรู้ทั้งโลกนี้และ
โลกหน้า และทั้งประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น ได้แก่ พระเสกขะบุคคล 7 จำพวก
พร้อมด้วยกัลยาณปุถุชน และพระอรหันต์. แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอาพระ-
อรหันต์เท่านั้น. ความเป็นแห่งมุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โมเนยยะ ได้แก่
กายสมาจาร วจีสมาจาร และมโนสมาจารของพระอรหันต์. อีกอย่างหนึ่ง
ธรรมคือ โมเนยยปฏิปทา ที่ทำให้เป็นมุนี ชื่อว่า โมเนยยะ.
โมเนยยะเหล่านั้น มีความพิสดารดังต่อไปนี้ บรรดาโมเนยยะทั้ง 3 นั้น
กายโมเนยยะเป็นอย่างไร ? คือการละกายทุจริต 3 อย่าง ชื่อว่า กายโมนยยะ